top of page
ค้นหา
  • รูปภาพนักเขียนSabypay

ภัยไซเบอร์ – SME ต้องรับมือให้ทัน รู้วิธีป้องกันก่อนสายเกินแก้

อัปเดตเมื่อ 27 เม.ย. 2566



ไม่ว่าองค์กรจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ สิ่งหนึ่งที่ทุกองค์กรมีไม่ต่างกันคือการบริหารค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหมายถึงการดูแลธุรกิจให้ครอบคลุมในทุกๆ ด้าน ยิ่งในยุคดิจิทัลที่ทุกคนต้องก้าวตามให้ทันเช่นนี้ ความปลอดภัยขององค์กรบนโลกไซเบอร์จึงเป็นเรื่องที่ละเลยไปไม่ได้โดยเด็ดขาด

ฐานข้อมูล (Database) ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินงานของทุกองค์กร นี่คือพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลที่จะถูกนำมาพัฒนาต่อเป็นบริการในขั้นต่อไป อาจเป็นข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญา ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลส่วนบุคคล หรือข้อมูลด้านอื่นๆ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นข้อมูลที่เป็นความลับและมีความละเอียดอ่อน ระบบรักษาความปลอดภัยด้านไซเบอร์ นับเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรมีในทุกองค์กร เพื่อที่จะดูแลข้อมูลเหล่านั้นและปกป้องธุรกิจให้พ้นจากแฮกเกอร์หรือผู้ไม่ประสงค์ดีที่หวังจะโจรกรรมข้อมูล รวมไปถึงการรั่วไหลของข้อมูลที่อาจเกิดขึ้น ตามมาด้วยความเสียหายอันประเมินค่าไม่ได้ที่องค์กรจะได้รับ ดังนั้นแล้ว ในยุคที่โลกดิจิทัลมีบทบาทต่อทุกภาคธุรกิจ การรักษาความปลอดภัยด้านไซเบอร์ (Cyber Security) จึงเป็นกลยุทธ์ที่ทุกองค์กรควรให้ความใส่ใจ

ถึงอย่างนั้น ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีก็ไม่ได้นำมาซึ่งประโยชน์เสมอไป การเพิ่มขึ้นของ IoT และ Edge เปิดช่องโหว่ให้องค์กรของคุณตกเป็นเป้าโจมตีของแฮกเกอร์ได้ง่ายขึ้นกว่าที่เคย โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจขนาดเล็ก หรือ SME

ทำไมธุรกิจ SME จึงมักตกเป็นเหยื่อภัยไซเบอร์?

ส่วนใหญ่แล้ว แฮกเกอร์มักใช้การโจมตีทางไซเบอร์ในการโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งล่วนแต่เป็นข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน แน่นอนว่าขนาดขององค์กรส่งผลต่อปริมาณข้อมูลที่เก็บรักษาเอาไว้ ยิ่งองค์กรมีขนาดใหญ่ ก็ยิ่งมีข้อมูลให้โจรกรรมได้เป็นจำนวนมาก แต่เครือข่ายรักษาความปลอดภัยที่มีหน้าที่ดูแลข้อมูลเหล่านี้ก็สูงตามขึ้นไปด้วย ดังนั้นแล้วแฮกเกอร์จึงพุ่งความสนใจมาองค์กรขนาดเล็ก ที่ถึงแม้จะมีปริมาณข้อมูลให้โจรกรรมน้อยกว่า แต่ช่องโหว่ในเครือข่ายรักษาความปลอดภัยก็มีมากกว่า จึงเอื้อต่อการเข้าถึงข้อมูลอันไม่พึงประสงค์

รับมืออย่างไร ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อแฮกเกอร์?

เพื่อไม่ให้ธุรกิจเกิดความเสียหาย ธุรกิจ SME จึงควรให้ความสำคัญในการวางระบบรักษาความปลอดภัยด้านไซเบอร์ให้รัดกุม โดยวิธีการเบื้องต้นที่สามารถทำได้มีดังต่อไปนี้

o จำกัดการอนุญาตในการเข้าถึงข้อมูล

การเข้าถึงข้อมูลถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการจัดเก็บข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพและรัดกุม เพื่อให้มั่นใจว่า Database ของคุณจะปลอดภัยจากผู้ไม่ประสงค์ดี จึงควรจำกัดประเภทของอุปกรณ์ที่สามารถเข้าถึงฐานข้อมูลได้ เรื่องนี้หมายรวมถึงการจำกัดการเข้าถึงของพนักงานภายในองค์กรด้วยเช่นกัน ฐานข้อมูลของแต่ละแผนกควรเป็นข้อมูลเฉพาะที่เปิดการเข้าถึงให้เพียงแค่บุคลากรภายในแผนกเท่านั้น เช่นว่า ผู้ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลของแผนกบัญชีได้ จะมีแต่พนักงานในแผนกบัญชีเท่านั้น เป็นต้น

o Back up ข้อมูลไว้บนช่องทางการเก็บข้อมูลที่น่าเชื่อถือ

เทคโนโลยีได้เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในการบริหารจัดการกับข้อมูลของเรามากขึ้น หลายบริษัทเลือกเก็บข้อมูลไว้บนคลาวด์ หรือเลือกใช้งานซอฟต์แวร์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้บริการเช่นนี้โดยเฉพาะ องค์กรที่เลือกใช้บริการอย่างหลังควรหมั่นตรวจเช็กให้แน่ใจว่าซอฟต์แวร์ของคุณมีการอัปเดตแพตช์ (Patch) อยู่เสมอ แต่ถึงอย่างนั้น บริษัทก็ควรสำรองข้อมูลเผื่อไว้บนช่องทางการเก็บข้อมูลอื่นๆ ที่มีความน่าเชื่อถือทางด้านความปลอดภัยด้วยเช่นกัน เพื่อป้องกันในกรณีที่คลาวด์หรือฐานข้อมูลออนไลน์ถูกโจมตีด้วยมัลแวร์

o รู้จักและเข้าใจการบริหารจัดการความเสี่ยง

หลักสำคัญในการเตรียมตัวให้พร้อมรับมือกับภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์ คือความเข้าใจในการบริหารจัดการความเสี่ยง และรู้วิธีการแก้ปัญหาที่จะสามารถนำมาใช้ได้เมื่อเกิดเหตุสุดวิสัยขึ้น วิธีนี้จะช่วยให้คุณพร้อมรับมือกับเหตุการณ์การโจมตีจากแฮกเกอร์ที่อาจกำลังจ้องเล่นงานธุรกิจของคุณอยู่


ในโลกดิจิทัลที่เทคโนโลยีเอื้ออำนวยความสะดวกต่อการใช้ชีวิตทุกด้าน สังคมออนไลน์ได้กลายมาเป็นแพลตฟอร์มหลักของผู้คน ความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ (Cyber Security) จึงเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานที่ทุกคนควรจะได้รับ ไม่ว่าจะเป็นบุคคล หรือองค์กรไหนๆ ก็ตาม ผู้ประกอบการ SME ธุรกิจรายย่อยจึงควรให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาความปลอดภัยและปกป้องของฐานข้อมูลของบริษัท เพราะความปลอดภัยของธุรกิจ เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ เราจึงควรก้าวให้ทันโลกอยู่เสมอ

ดู 18 ครั้ง0 ความคิดเห็น

留言


Post: Blog2_Post
bottom of page