อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในช่วงปี 2022 ที่ผ่านมา ได้กลายเป็นประเด็นสำคัญอันน่ากังวลใจในหมู่ลูกจ้าง ด้วยผลกระทบจากโควิด-19 บวกกับเหตุการณ์รัสเซียบุกยูเครน ส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกต่างซบเซา ภาวะเงินสูงพุ่งสูงขึ้นตามมาด้วย องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization) รายงานว่า อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นจาก 7.5% ในเดือนกุมภาพันธ์ เป็น 9.2% ในเดือนมีนาคม สอดคล้องกับการคาดการณ์จากสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่อย่าง ADB (Asian Development Bank) ที่ได้รายงานเอาไว้ถึงอัตราเงินเฟ้อที่จะเพิ่มขึ้นอีก 3% จากเดิมคือ 2.3% ในปี 2021 ด้วยเหตุนี้เองภาวะเงินเฟ้อจึงได้กลายมาเป็นปัญหากังวลใจของพนักงาน เพราะถึงแม้ว่าจะได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้น แต่ภาวะเงินเฟ้อที่กำลังเกิดขึ้น ก็ทำให้ค่าใช้จ่ายต้องพุ่งสูงขึ้นตามไปด้วย ประมาณเป็นตัวเลขได้ 1.6% พนักงานระดับสูงอาจรับมือสถานการณ์เช่นนี้ได้สบาย ในทางกลับกันพนักงานในตำแหน่งทั่วไป คือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด เมื่อภาวะเงินเฟ้อได้ผลักให้ของใช้ในชีวิตประจำวันมีราคาที่สูงขึ้น แม้เงินเดือนจะเพิ่มมากขึ้น ก็ไม่ได้ช่วยคลี่คลายสถานการณ์แต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม องค์กรสามารถช่วยพนักงานจากภาวะเงินเฟ้อได้โดยไม่ต้องเพิ่มการจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้าง 5 วิธีต่อไปนี้คือสิ่งที่ผู้นำองค์กรสามารถทำได้เพื่อช่วยพนักงานรับมือกับภาวะเงินเฟ้อ
รู้ทันปัญหาที่พนักงานต้องเผชิญอยู่เสมอ
ผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อที่พนักงานแต่ละคนได้รับนั้นแตกต่างกันออกไป ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของเรื่องนี้ มีทั้งเรื่องของพื้นฐานด้านครอบครัว นิสัยการใช้เงิน และค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่แต่ละคนมี ดังนั้นแล้วผู้นำองค์กรจึงต้องทำความเข้าใจปัญหาของที่เกิดขึ้นของพนักงาน เพื่อที่จะวางแผนมาตรการที่เป็นประโยชน์ให้กับพนักงานได้ อาจให้พนักงานทำแบบสอบถามแบบไม่เปิดเผยตัวตน เพื่อเปิดโอกาสให้ได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ สิ่งนี้เองจะช่วยให้องค์กรสามารถเสนอแนวทางแก้ไขที่ตรงจุดได้ นอกจากจะช่วยแบ่งเบาภาระของพนักงานแล้ว วิธีนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความใส่ใจที่องค์กรมีต่อพนักงานทุกคน
เพิ่มเงินเท่าไร ต้องวิเคราะห์ให้ดี
หนึ่งในวิธีที่องค์กรสามารถยื่นมือให้ความช่วยพนักงานในภาวะเงินเฟ้อได้ ก็คือการเพิ่มเงินเดือน แต่ถึงอย่างนั้นในช่วงที่เศรษฐกิจไม่มั่นคงเช่นนี้ก็ต้องทำอย่างระมัดระวัง และพิจารณาให้อยู่ในอัตราที่งบประมาณบริษัทสามารถรองรับได้ ลองศึกษาข้อมูลจากบริษัทอื่นๆ ว่ามีวิธีรับมือกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างไร จ่ายค่าจ้างเพิ่มให้พนักงานเท่าไร อาจช่วยให้คุณมองเห็นลู่ทางหรือตัดสินใจได้ง่ายขึ้น ในทางกลับกันก็อย่าลืมพิจารณาด้วยว่าจำนวนค่าจ้างใหม่ที่พนักงานจะได้รับ เหมาะสมต่อการรับมือกับสภาวะเงินเฟ้อหรือไม่ อย่าลืมว่าจะต้องเป็นตัวเลขที่รักษาพนักงานคุณภาพเหล่านั้นเอาไว้กับบริษัทต่อไปให้ได้
หมดยุคเข้าออฟฟิศ ต้องมีทั้ง Hybrid และ WFH
เมื่อค่าครองชีพสูงขึ้น การปรับรูปแบบการทำงาน ให้เป็นแบบ Hybrid และการทำงานจากระยะไกลอย่างเช่น Work From Home และ Work From Anywhere ก็เป็นตัวเลือกที่ช่วยลดต้นทุนในค่าใช้จ่ายการเดินทางได้ไม่น้อย หลายองค์กรก็ได้เริ่มปรับตัวสู่วิถีกันทำงานรูปแบบใหม่นี้แล้ว ภายหลังจากที่ได้เผชิญกับ โควิด-19
สิทธิพิเศษที่สร้างความรู้สึกดีๆ
เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อ ค่าอาหาร ค่าครองชีพก็แพงขึ้นเป็นธรรมดา วิธีหนึ่งที่องค์กรสามารถช่วยพนักงานในการรับมือกับสภาพเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นนี้ได้ คือการช่วยซัพพอร์ตค่าใช้จ่ายตรงจุดนี้ อาจเป็นการแจก Voucher สำหรับซื้อของ หรือเลี้ยงอาหารบ้างในระหว่างสัปดาห์ หากออฟฟิศของคุณมีมุมแพนทรีเล็กๆ การจัดขนมเล็กๆ น้อยๆ เอาไว้ให้กำลังใจพนักงานของคุณในวันทำงานที่ต้องเข้าออฟฟิศก็เป็นไอเดียที่ดีไม่น้อยทีเดียว
เพิ่มตำแหน่งพนักงาน เสี่ยงน้อย เติบโตแน่
การจะก้าวผ่านสภาพเศรษฐกิจเช่นนี้ไปได้ การรักษาพนักงานที่มีอยู่เอาไว้ถือเป็นอีกกลยุทธ์ที่สำคัญ วิธีนึงที่สามารถทำได้ และมักจะใช้ได้ผลอยู่เสมอ คือการปรับเลื่อนตำแหน่งให้คนในองค์กร แทนที่จะจ้างพนักงานใหม่เข้ามา ถือเป็นก้าวสำคัญของการเติบโตทางธุรกิจ เพราะนอกจากจะได้รักษาพนักงานคุณภาพไว้กับองค์กรแล้ว ผู้บริหารยังมั่นใจได้ถึงฝีมือการทำงาน และมั่นใจได้ว่าพนักงานเหล่านั้นจะพาให้ธุรกิจเติบโต ด้วยความเข้าใจองค์กรเป็นอย่างดีที่มีมาอยู่ก่อนแล้ว ทั้งยังได้ถือโอกาสเพิ่มเงินเดือนให้พนักงานอีกด้วย
อย่าลืมว่านี่เป็นเพียงข้อมูลส่วนหนึ่งเท่านั้น ไม่ว่าคุณจะตัดสินใจเลือกวิธีให้ ขอให้มั่นใจว่าพิจารณาเป็นอย่างดี และผ่านสภาวะเช่นนี้ไปได้อย่างลุล่วง
Comments